วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

การเคลื่อนที่แบบหมุน


1) ปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการหมุน
ในการศึกษาการเคลื่อนที่แบบหมุน   วัตถุที่ศึกษาต้องมีรูปร่างที่แน่นอนซึ่งเรียกว่า  วัตถุแข็งเกร็ง  (Rigid  body) เมื่อมีแรงกะทำต่อวัตถุในแนวไม่ผ่านศูนย์กลางมวล  (C.M.) จะมีโมเมนต์ของแรงหรือในบทนี้เรียกว่า  ทอร์ก ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ  ผลจะทำให้วัตถุมีการเคลื่อนที่แบบหมุนรอบศูนย์กลางมวลอย่างอิสระ  แต่ถ้าวัตถุถูกยึดด้วยแกนหมุน  เช่นแกนใบพัด  แกนเครื่องยนต์  เมื่อมีแรงมากระทำโดยแนวแรงไม่ผ่านแกนจะมีโมเมนต์ของแรงหรือทอร์กที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำให้ใบพัดลมหรือเครื่องยนต์นั้นหมุนรอบแกนคงตัวเช่นกัน
การเคลื่อนที่แบบหมุนซึ่งแกนหมุนวางตั้งฉากกับระนาบของการเคลื่อนที่ของมวลย่อยๆ ในแนววงกลม  เมื่อพิจารณามวลย่อยๆ ของวัตถุที่กำลังหมุน  จะมีปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ดังนี้
1. อัตราเร็วเชิงมุม  (angular  speed)
อัตราเร็วเชิงมุม ในที่นี้หมายถึง...อ่านเพิ่มเติม

2) ทอร์ก โมเมนต์ความเฉื่อยกับการเคลื่อนที่แบบหมุน
ในการศึกษาเรื่อง การหมุนของวัตถุเมื่อมีทอร์กที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำ ผลที่เกิดขึ้นวัตถุจะหมุนในลักษณะการเปลี่ยนสภาพการหมุนที่มีความเร่งเชิง มุม ตามทิศของทอร์ก ลักษณะเดียวกับการขันน็อตและคาย น็อต
ในที่นี้เราจะ เริ่มศึกษาหา ทอร์ก ที่เกิดขึ้นจากการหมุนแบบง่ายๆ เช่น เมื่อมีมวล ติดอยู่กับปลายแท่งวัตถุเล็กๆเบาๆ ยาว โดยปลายอีกข้างหนึ่งตรึงอยู่กับจุดกึ่งกลาง บนพื้นซึ่งปราศจากแรงเสียดทาน เมื่อมีแรง มากระทำต่อมวล ในทิศตั้งฉากกับแท่งวัตถุเล็กๆ ตลอดเวลา โดยแนวแรง สัมผัสกับแนววงกลมหรือตั้งฉากกับรัศมี r
จากกฎการเคลื่อนที่ข้อ 2 ของนิวตัน มวล m จะเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง ซึ่งมีทิศทางเดียวกับแรงคือมีทิศสัมผัสวงกลมตลอดเวลา ได้ว่า...อ่านเพิ่มเติม

3) พลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่แบบหมุน
เมื่อแกนหมุนของระบบ หรือวัตถุแข็งแกร็ง(rigid body )   อยู่นิ่ง
พิจารณาการหมุนของจุดมวล จะได้
 จุดมวล m ห่างแกนหมุนเป็นระยะทาง r    หมุนรอบแกน เพราะแรงขนาดคงตัว  F หรือ ทอร์ก จากแรง F  (  = RF )   จุดมวล มีความเร็วเชิงเส้น และความเร็วเชิงมุม ที่ตำแหน่ง 1  พลังงานจลน์ของจุดมวลเชิงเส้น  เขียนในรูปพลังงานจลน์เชิงมุม หรือพลังงานจลน์การหมุนได้
  สรุป   พลังงานจลน์การหมุนของวัตถุ  มีค่าเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของโมเมนต์ความเฉื่อย คูณอัตราเร็วเชิงมุมกำลังสอง   หน่วย  จูล : J
ความสัมพันธ์งานกับพลังงานจลน์การหมุน…อ่านเพิ่มเติม

4) การเคลื่อนที่ทั้งแบบเลื่อนที่และแบบหมุน
การเคลื่อนที่ของวัตถุบางครั้งอาจมีการเคลื่อนที่แบบเลื่อนตำแหน่งร่วมกับการเคลื่อนที่แบบหมุนด้วย  เช่น  การเคลื่อนที่ของลูกบอล  ลูกกอล์ฟ  ลูกเทนนิส  ลูกปิงปอง  ล้อรถจักรยาน  ซึ่งเป็นการหมุน  รอบจุดศูนย์กลางมวล  (เมื่อเคลื่อนที่อย่างอิสระ)  และเป็นการหมุนรอบแกนคงตัว
ในการศึกษาวัตถุที่มีการเคลื่อนที่แบบกลิ้ง  ซึ่งง่ายต่อการพิจารณา  เช่น  ล้อรถที่กำลังแล่นไปบนถนนราบด้วยความเร็วคงตัว  จะพบว่าศูนย์กลางของล้อเคลื่อนที่แบบเลื่อนตำแหน่งอย่างเดียว  และมีความเร็วเท่ากับความเร็วของรถ  แต่ถ้าพิจารณาจุดหนึ่งจุดใดบนขอบของล้อรถ  จะพบว่ามีการเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบแกนหมุน  (ในที่นี้  คือ  ศูนย์กลางของล้อรถ)
เมื่อพิจารณาค่าพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่แบบกลิ้งของวัตถุจึงมีค่าเท่ากับผลรวมของพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่ทั้งสองแบบ  คือ

พลังงานจลน์ของการกลิ้ง =  พลังงานของการเคลื่อนที่แบบเลื่อน

ตำแหน่ง พลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่แบบหมุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น