วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 

สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น


1).สภาพสมดุล


สภาพสมดุล (Equilibrium) คือ สมดุลที่เกิดขึ้นในขณะที่ วัตถุอยู่ในสภาพนิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์
สภาพสมดุลของวัตถุ คือ การคงสภาพของวัตถุแบ่งได้ 2 กรณีคือ
   1.สภาพสมดุลสถิต (Static equilibrium) คือ สภาพสมดุลของวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างที่อยู่นิ่ง เช่น สะพาน เขื่อน
   2.สภาพสมดุลจลน์ (Kinetic equilibrium) คือ สภาพสมดุลของวัตถุที่เครื่องที่ด้วยความเร็วคงตัว เช่น รถไฟ เครื่องบิน ที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
สมดุลจะแบ่งเป็น 3 ชนิด
1. สมดุลต่อการเลื่อนที่ คือ วัตถุอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วคงตัว
2. สมดุลสถิต (Static Equilibrium) เป็นสมดุลของวัตถุขณะอยู่นิ่ง
3. สมดุลจลน์ (Kinetic Equilibrium) เป็นสมดุลของ...อ่านเพิ่มเติม

                2).สมดุลต่อการหมุน

เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุและทำให้วัตถุเคลื่อนที่แบบเลื่อนตำแหน่งเพียง อย่างเดียวแรงนั้นต้องผ่านจุดศูนย์กลางมวล (Center of mass ) ซึ่งเสมือนเป็นที่รวมของมวลวัตถุทั้งก้อน และในกรณีที่มีวัตถุหลายๆก้อนมายึดติดกันเป็นรูปทรงต่าง ๆซึ่งเรียกระบบ และในแต่ละระบบก็มีจุดศูนย์กลางมวล เช่นกัน แต่ถ้ามีแรงกระทำต่อวัตถุหรือระบบไม่ผ่านจุดศูนย์กลางมวลวัตถุจะเคลื่อนที่ แบบหมุนโมเมนต์ของแรง

เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุและแรงกระทำนั้นไม่ผ่านจุดศูนย์กลางมวลจะทำให้วัตถุหมุนรอบจุดศูนย์กลางมวล แต่ถ้าวัตถุนั้นมีที่ยึดรอบแกนหมุนแกนหนึ่ง จุดหมุนก็ไม่จำเป็นต้องหมุนรอบจุดศูนย์กลางมวล และการหมุนของวัตถุทำให้เกิดโมเมนต์ของแรง (Moment of a force )หรือเรียกย่อ ๆว่าโมเมนต์หรือ...อ่านเพิ่มเติม

3) ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง
จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)
หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณะสมดุลได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง
จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน
จุดศูนย์กลางมวล (Center of Mass : CM)
เป็นจุดที่เสมือนเป็นที่รวมมวลของวัตถุทั้งก้อนนั้น โดยที่ CM อาจอยู่นอกเนื้อวัตถุนั้นได้ เช่น รูปโดนัท
โดยปกติวัตถุบางชนิดมีมวลภายในหนาแน่นไม่เท่ากันตลอดทั้งเนื้อสาร CM จึงเป็นเสมือนที่เป็นจุดรวมมวลของวัตถุทั้งก้อน...อ่านเพิ่มเติม

4) เสถียรภาพของสมดุล

เสถียรภาพของสมดุล
      เสถียรภาพของสมดุลสามารถแบ่งได้ดังนี้
   1.สมดุลเสถียร  คือสภาพสมดุลของวัตถุซึ่งมีลักษณะที่วัตถุสามารถกลับสู่สภาพสมดุลที่ตำแหน่งเดิมได้ โดยเมื่อแรงกระทำกับวัตถุที่อยู่ในสมดุลเสถียร จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่สูงกว่าระดับเดิม แต่เมื่อเอาแรงออก วัตถุจะกลับสภาพเดิม
   2. สมดุลสะเทิน  คือสภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะสามารถคงสภาพสมดุลอยู่ได้ โดยมีตำแหน่งสมดุลที่เปลี่ยนไป
   3. สมดุลไม่เสถียร  คือ สภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้...อ่านเพิ่มเติม

5) การนำหลักสมดุลไปประยุกต์

            หลักการสมดุลมีใช้มากมายในชีวิตประจำวัน  ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำหลักการสมดุลไปใช้กับเครื่องกลอย่างง่าย เช่น  คาน  คีมตัดลวด  ไขควง  ล้อและเพลา  และกว้าน  เป็นต้น  เครื่องกลอย่างง่ายเหล่านี้สามารถผ่านแรงที่กระทำได้อย่างไร  สามารถเข้าใจได้จากการหาขนาดของแรงที่กระทำ ณ จุดต่างๆ ตามหลักการของสมดุลในทุกกรณี
ตัวอย่าง  8.5  ในการดึงน้ำขึ้นจากบ่อลึกด้วยล้อและเพลาดังรูป ล้อมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  36  เซนติเมตร...อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

การเคลื่อนที่แบบหมุน


1) ปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการหมุน
ในการศึกษาการเคลื่อนที่แบบหมุน   วัตถุที่ศึกษาต้องมีรูปร่างที่แน่นอนซึ่งเรียกว่า  วัตถุแข็งเกร็ง  (Rigid  body) เมื่อมีแรงกะทำต่อวัตถุในแนวไม่ผ่านศูนย์กลางมวล  (C.M.) จะมีโมเมนต์ของแรงหรือในบทนี้เรียกว่า  ทอร์ก ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ  ผลจะทำให้วัตถุมีการเคลื่อนที่แบบหมุนรอบศูนย์กลางมวลอย่างอิสระ  แต่ถ้าวัตถุถูกยึดด้วยแกนหมุน  เช่นแกนใบพัด  แกนเครื่องยนต์  เมื่อมีแรงมากระทำโดยแนวแรงไม่ผ่านแกนจะมีโมเมนต์ของแรงหรือทอร์กที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำให้ใบพัดลมหรือเครื่องยนต์นั้นหมุนรอบแกนคงตัวเช่นกัน
การเคลื่อนที่แบบหมุนซึ่งแกนหมุนวางตั้งฉากกับระนาบของการเคลื่อนที่ของมวลย่อยๆ ในแนววงกลม  เมื่อพิจารณามวลย่อยๆ ของวัตถุที่กำลังหมุน  จะมีปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ดังนี้
1. อัตราเร็วเชิงมุม  (angular  speed)
อัตราเร็วเชิงมุม ในที่นี้หมายถึง...อ่านเพิ่มเติม

2) ทอร์ก โมเมนต์ความเฉื่อยกับการเคลื่อนที่แบบหมุน
ในการศึกษาเรื่อง การหมุนของวัตถุเมื่อมีทอร์กที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำ ผลที่เกิดขึ้นวัตถุจะหมุนในลักษณะการเปลี่ยนสภาพการหมุนที่มีความเร่งเชิง มุม ตามทิศของทอร์ก ลักษณะเดียวกับการขันน็อตและคาย น็อต
ในที่นี้เราจะ เริ่มศึกษาหา ทอร์ก ที่เกิดขึ้นจากการหมุนแบบง่ายๆ เช่น เมื่อมีมวล ติดอยู่กับปลายแท่งวัตถุเล็กๆเบาๆ ยาว โดยปลายอีกข้างหนึ่งตรึงอยู่กับจุดกึ่งกลาง บนพื้นซึ่งปราศจากแรงเสียดทาน เมื่อมีแรง มากระทำต่อมวล ในทิศตั้งฉากกับแท่งวัตถุเล็กๆ ตลอดเวลา โดยแนวแรง สัมผัสกับแนววงกลมหรือตั้งฉากกับรัศมี r
จากกฎการเคลื่อนที่ข้อ 2 ของนิวตัน มวล m จะเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง ซึ่งมีทิศทางเดียวกับแรงคือมีทิศสัมผัสวงกลมตลอดเวลา ได้ว่า...อ่านเพิ่มเติม

3) พลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่แบบหมุน
เมื่อแกนหมุนของระบบ หรือวัตถุแข็งแกร็ง(rigid body )   อยู่นิ่ง
พิจารณาการหมุนของจุดมวล จะได้
 จุดมวล m ห่างแกนหมุนเป็นระยะทาง r    หมุนรอบแกน เพราะแรงขนาดคงตัว  F หรือ ทอร์ก จากแรง F  (  = RF )   จุดมวล มีความเร็วเชิงเส้น และความเร็วเชิงมุม ที่ตำแหน่ง 1  พลังงานจลน์ของจุดมวลเชิงเส้น  เขียนในรูปพลังงานจลน์เชิงมุม หรือพลังงานจลน์การหมุนได้
  สรุป   พลังงานจลน์การหมุนของวัตถุ  มีค่าเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของโมเมนต์ความเฉื่อย คูณอัตราเร็วเชิงมุมกำลังสอง   หน่วย  จูล : J
ความสัมพันธ์งานกับพลังงานจลน์การหมุน…อ่านเพิ่มเติม

4) การเคลื่อนที่ทั้งแบบเลื่อนที่และแบบหมุน
การเคลื่อนที่ของวัตถุบางครั้งอาจมีการเคลื่อนที่แบบเลื่อนตำแหน่งร่วมกับการเคลื่อนที่แบบหมุนด้วย  เช่น  การเคลื่อนที่ของลูกบอล  ลูกกอล์ฟ  ลูกเทนนิส  ลูกปิงปอง  ล้อรถจักรยาน  ซึ่งเป็นการหมุน  รอบจุดศูนย์กลางมวล  (เมื่อเคลื่อนที่อย่างอิสระ)  และเป็นการหมุนรอบแกนคงตัว
ในการศึกษาวัตถุที่มีการเคลื่อนที่แบบกลิ้ง  ซึ่งง่ายต่อการพิจารณา  เช่น  ล้อรถที่กำลังแล่นไปบนถนนราบด้วยความเร็วคงตัว  จะพบว่าศูนย์กลางของล้อเคลื่อนที่แบบเลื่อนตำแหน่งอย่างเดียว  และมีความเร็วเท่ากับความเร็วของรถ  แต่ถ้าพิจารณาจุดหนึ่งจุดใดบนขอบของล้อรถ  จะพบว่ามีการเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบแกนหมุน  (ในที่นี้  คือ  ศูนย์กลางของล้อรถ)
เมื่อพิจารณาค่าพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่แบบกลิ้งของวัตถุจึงมีค่าเท่ากับผลรวมของพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่ทั้งสองแบบ  คือ

พลังงานจลน์ของการกลิ้ง =  พลังงานของการเคลื่อนที่แบบเลื่อน

ตำแหน่ง พลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่แบบหมุน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

โมเมนตัมและการชน


1) โมเมนตัม
โมเมนตัม (Momentum) ในทางฟิสิกส์นั้น โมเมนตัมเป็นคำเฉพาะที่จะใช้กับปริมาณอย่างหนึ่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุ ความหมายเหมือนจะเป็นปริมาณที่วัดความพยายามที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าของวัตถุ แต่อะไรคือปริมาณนั้น
ถ้าเราใช้ความรู้สึกของเรา ในการพยายามหยุดวัตถุให้เคลื่อนที่โดยใช้ในการออกแรงทำให้หยุดเท่ากัน จินตนาการ หรือทดลองดูว่า ระหว่างการใช้มือกับลูกปิงปอง ลูกเทนนิส ลูกฟุตบอล และลูกเหล็ก ที่ปล่อยให้ตกจากที่สูงเท่ากัน จะบอกได้ว่า การรับลูกเหล็กต้องใช้แรงมากที่สุด รองลงมาคือลูกฟุตบอล ลูกเทนนิส และลูกปิงปอง ตามลำดับ แสดงว่า แรงที่ใช้ในการรับเปลี่ยนตามมวลและอาจเป็นปฏิภาคกับมวล การตกจากที่สูงเท่ากัน แสดงว่าความเร็วก่อนถึงมือที่รับเท่ากัน ในขณะที่ถ้าใช้วัตถุเดียวกันปล่อยจากที่สูงต่างกัน จะพบว่า เมื่อตกจากที่สูงกว่า วัตถุตกถึงมือด้วยความเร็วสูงขึ้น ก็ต้องใช้แรงที่รับมากขึ้น ปริมาณนี้อาจจะคล้ายพลังงานจลน์ แต่พลังงานจลน์วัดจากงานที่ทำให้หยุด หรือแรงที่ทำให้หยุดในระยะทางเท่ากัน แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นแรงที่ทำให้หยุดในเวลาเท่ากันจะต่างกันอย่างไร…อ่านเพิ่มเติม

2) การดลและแรงดล

การดล (I) คือการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นkg.m/s หรือ N.S แรงดล คือแรงที่มากระทำต่อวัตถุในช่วงเวลาสั้น ๆ หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมที่เปลี่ยนไปในช่วงหนึ่งหน่วยเวลา (Dt) แรงดลมีหน่วยเป็นนิวตัน วัตถุมวล เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต้น ถูกแรง F มากระทำในเวลาสั้น ๆ ทำให้วัตถุมีความเร็ว
 เราทราบมาแล้วว่า เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำกับวัตถุ จะทำให้โมเมนตัมเปลี่ยนไป ถ้าต้อง การให้โมเมนตัมของวัตถุเปลี่ยนแปลง  ขนาดของแรงที่มากระทำก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ถ้า ปล่อยไข่ให้ตกลงบนฟองน้ำและให้ตกลงบนพื้นที่แข็ง จากที่ระดับความสูงเดียวกันซึ่งมีความสูงไม่มากนัก จะเห็นว่า ไข่ที่ตกลงบนพื้นที่แข็งจะแตก ส่วนไข่ที่ตกลงบนฟองน้ำจะไม่แตก แสดงว่าแรงที่กระทำกับไข่ที่ ตกลงพื้นที่แข็งจะมีค่ามากกว่าแรงที่กระทำกับไข่ที่ตกลงบนบนฟองน้ำ ถ้าคิดว่าไข่ทั้งสองมีมวลเท่ากันจะเห็นว่า...อ่านเพิ่มเติม


3).การชน 
ทฤษฎีการชน (collision theory) กล่าวว่า "ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออนุภาคของตัวทำปฏิกิริยา (อะตอม โมเลกุล หรือไอออน ) เกิดการชนกัน ถ้าการชนนั้นมีทิศทางที่เหมาะสมและมีพลังงานมากพอก็จะทำให้พันธะเดิมแตกออกและสร้างเป็นพันธะใหม่ขึ้นมา" ซึ่งทฤษฎีการชนนี้จะอธิบายได้เฉพาะปฏิกิริยาเคมีที่มีสารเข้าทำปฏิกิริยาตั้งแต่สองอนุภาคขึ้นไป โดยอาจเป็นสองอนุภาคที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
       จากทฤษฎีการชนจะสังเกตได้ว่า การชนที่ประสบผลสำเร็จหรือการชนที่ทำให้เกิดสารผลิตภัณฑ์จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญสองอย่าง คือ
           1. ทิศทางของการชน (orientation of collision)
           2. พลังงานของการชน (energy of collision)
1. ทิศทางของการชน
ตัวอย่าง  ปฏิกิริยาระหว่างโพแทสเซียมอะตอม (K) กับเมทิลไอโอไดด์ (CH3I) ได้เป็นโพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI) และอนุมูลเมทิล (CH3)...อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 

งานและพลังงาน


1) แรงและงาน
งาน คือ ผลของแรงที่กระทำบนวัตถุ และทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวแรง ซึ่งเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นนิวตันเมตร (N.m) หน่วยนี้มีชื่อใหม่ว่า จูล (Joule, J)
         ในกรณีแรง ที่มากระทำเป็นแรงคงตัวและการกระจัด ของวัตถุอยู่ในแนวเดียวกับแรง ปริมาณงานที่แรง กระทำจะมีค่าเท่ากับ
ผลคูณระหว่างขนาดของแรงและขนาดของการกระจัด W = FScosΘ
เมื่อ Θ เป็นมุมระหว่างทิศของแรงที่กระทำกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ งานที่เกิดจากแรงกระทำไม่อยู่ในแนวเดียวกับการเคลื่อนของวัตถุจะหาได้จากผลคูณระหว่างขนาดของแรงองค์ประกอบในแนวการเคลื่อนที่กับขนาดการกระจัดของวัตถุที่เกิดขึ้นในช่วงที่แรงนี้กระทำดังนั้น…อ่านเพิ่มเติม

2) พลังงาน



พลังงาน (energy) คือ  ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุหรือสสารต่าง ๆ   พลังงานสามารถทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้  เช่น ทำให้สสารร้อนขึ้น เกิดการเคลื่อนที่  เปลี่ยนสถานะเป็นต้น
            พลังงานที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลายรูปแบบ เช่น  พลังงานกล  พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า  พลังงานแสง  พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์  เป็นต้น
           หน่วยของพลังงาน   พลังงานมีหน่วยเป็นจูล (J)
ประเภทของพลังงาน
พลังงานแบ่งออกเป็น  6 ประเภท ตามลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่
   1.  พลังงานเคมี (Chemical Encrgy)
        2.  พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
        3.  พลังงานกล (Mechanical Energy)
        4.  พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy)
        5.  พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
        6.  พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)…เพิ่มเติม

3) กฎการอนุรักษ์พลังงาน

ขณะวัตถุตกจากที่สูงลงมา แต่ละขณะวัตถุมีทั้งพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ ผลรวมของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์เรียกว่า พลังงานกลรวมของวัตถุ เมื่อมีแต่แรงโน้มถ่วงโดยไม่มีแรงเสียดทานหรือแรงอื่นมากระทำต่อวัตถุแล้ว พลังงานกลรวมของวัตถุ ณ ตำแหน่งใด ๆ จะมีค่าคงตัวเสมอ ซึ่งเป็น กฎการอนุรักษ์พลังงานกล ถ้าปล่อยวัตถุจากจุดหยุดนิ่งจากที่สูง วัตถุจะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงแต่ไม่มีพลังงานจลน์ และขณะวัตถุกำลังตกลงมาด้วยแรงโน้มถ่วง พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุจะลดลงเท่ากับพลังงานจลน์ของวัตถุที่เพิ่มขึ้น  ในทางกลับกัน ถ้าโยนวัตถุขึ้นจากพื้นด้วยความเร็ว ขณะวัตถุเคลื่อนที่สูงขึ้น พลังงานงานจลน์ของวัตถุจะลดลงเท่ากับพลังงานศักย์โน้มถ่วงที่เพิ่มขึ้น
 ในสถานการณ์จริง ส่วนมากผลรวมของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์มีค่าไม่คงตัว เพราะมีแรงเสียดทานไปต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ งานของแรงเสียดทานจะทำให้พลังงานกลของระบบส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น...อ่านเพิ่มเติม

4) การประยุกต์กฎการอนุรักษ์พลังงานกล
  การประยุกต์กฎการอนุรักษ์พลังงานกล

          กฎการอนุรักษ์พลังงานกลสามารถนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นๆ ได้ดีขึ้น เช่น การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย อาจเข้าใจได้ ดีขึ้นเมื่อใช้หลักการของพลังงานกลมาวิเคราะห์
          พิจารณาการเคลื่อนที่ของรถทดลองติดปลายสปริง (ดังรูป 5.11) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย สมมติให้รถทดลองเริ่มต้นเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่มีการกระจัดมากที่สุดซึ่งพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะลดลงโดยส่วนที่ลดจะเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานจลน์  พลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์ทั้งหมดขณะที่ผ่านที่ตำแหน่งสมดุลแล้วพลังงานจลน์จะลดลงและทำให้พลังงานศักย์ยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น จนถึงตำแหน่งที่มีการกระจัดมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงานกล ดังนั้น อาจเลือกใช้ความจริงที่ว่า
พลังงานกลของระบบ ณ ตำแหน่งใดๆ        =     พลังงานศักย์ยืดหยุ่น ณ ตำแหน่งที่มีการกระจัดมากที่สุด

  การประยุกต์กฎการอนุรักษ์พลังงานกลยังอาจแสดงดังตัวอย่างต่างๆ ต่อไป...อ่านเพิ่มเติม


5) กำลัง (Power)

จากความรู้เรื่องงานพบว่า งานที่เกิดจะเกี่ยวข้องกับแรง และการกระจัดเท่านั้นไม่เกี่ยวกับปริมาณอื่น เช่น ไม่เกี่ยวข้องกับเวลา แต่ยังมีปริมาณที่เกี่ยวข้องกับ
นิยาม กำลัง คือ อัตราที่ทำงานหรืองานที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลา
หน่วยของกำลัง คือ J/s หรือเรียกว่า Watt (วัตต์) "W"

การหากำลังของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว V
กำลังม้า (horsepower, hpคือ กำลังของม้า 1 ตัวหรืออัตราการทำงานของม้า 1 ตัว เช่น เครื่องยนต์ 10 hp สามารถทำงานเท่ากับม้า 10 ตัว หนึ่งกำลังม้า คือ งาน 33,000 ฟุต-ปอนด์ต่อหนึ่งนาที (ft-lb/min)
ม้าเดิน 165 ft ในเวลา 1 นาที และยกน้ำหนัก 200 lb ปริมาณงานที่ทำภายในเวลา 1 นาที คือ...อ่านเพิ่มเติม


6) เครื่องกล

เครื่องมือพื้นฐานบางชนิดใช้สำหรับสร้างพลังงาน  (modify forces)   ซึ่งหมายถึงเครื่องมืออย่างง่าย   เครื่องมือง่ายๆ  เช่นนี้อาจจะเพิ่มหรือลดแรง  ซึ่งใช้สำหรับเปลี่ยนทิศทางหรือหันเหไปในที่ซึ่งเครื่องจักรทำงาน  ตามธรรมดาเครื่องมืออย่างง่ายถูกจัดเป็นเครื่องมือในกลุ่มเดียวกัน  เช่น ชะแลง  (lever )   รอก (Pulley)  รอกขนาดใหญ่  (trackle block)   และกว้าน (  the  windlass )   ซึ่งทำงานเพื่อสนับสนุนในจุดจุดเดียว  รวมถึงพื้นที่ลาดเอียง  ( incline plane)   ตะปูควง  (screw )  และลิ่มหรือเหล็กงัด  ( wedge)   ซึ่งทำงานผ่านการสัมผัสบนผิวหน้าทั้งหมด   บางครั้งเฟือง ( toothed  wheel )   และเกียร์ธรรมดา  ( simple gear)   ก็ถูกรวมด้วยอยู่ในกลุ่มนี้

คานงัด (LEVERS)




คานงัดใช้สำหรับเพิ่มหรือลดแรงที่ใส่ลงไป   แบ่งออกเป็น 3  ประเภทด้วยกัน  ตามตำแหน่งของฟัลครัม   ถ้าหากฟัลครัมตั้งอยู่ระหว่างที่ใช้แรงกับแรงเสียดทาน  คานงัดประเภทนี้จะจัดอยู่ในประเภทแรก  (first type)  เมื่อแรงเสียดทานตั้งอยู่ระหว่างแรงที่ใช้กับฟัลครัม  คานงัดประเภทนี้จะจัดอยู่ในประเภทที่สอง  ( second type )  และถ้าแรงที่ใช้...อ่านเพิ่มเติม